นักวิจัย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  คว้า 5 รางวัลนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ Geneva Inventions 2025

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รับ 5 รางวัลนวัตกรรม จาก 3 ผลงาน บนเวทีนานาชาติ “The 50th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดนุพล นันทจิต ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัยและนวัตกรรม นำทีมอาจารย์ นักวิจัย คว้า 5 รางวัล ( 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 3 รางวัลพิเศษ) จากเวทีนานาชาติ “The 50th International Exhibition of Inventions Geneva” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 13 เมษายน พ.ศ. 2568 ณ Palexpo นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รับรางวัล ดังนี้

1.รางวัลระดับเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with Jury Congratulations) และรางวัลพิเศษ (Special prize) จำนวน 2 รางวัล จาก CAI Award Invention & Innovation from China Association of inventionsและ NRCT Special award (Thailand)จากผลงาน ไอเซดาร์ โบนเอ็กซ์ :ระบบความร่วมมือทางการแพทย์แบบหลายชั้นบนคลาวด์ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อสนับสนุนแพทย์มือใหม่ในการวินิจฉัยกระดูกสะโพกหักในห้องฉุกเฉินในพื้นที่ชนบท (AICEDA BoneX: Cloud-based multilayer medical expertise collaboration with AI to support inexperienced doctors in hip fracture diagnostic at emergency room in rural area)โดย อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ซึ่งเป็นระบบบนเทคโนโลยีคลาวด์ที่ผสานความร่วมมือทางการแพทย์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยแพทย์มือใหม่ในการวินิจฉัยกระดูกสะโพกหักอย่างแม่นยำในห้องฉุกเฉิน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ระบบนี้ช่วยลดอัตราการวินิจฉัยผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและทันเวลา ระบบออกแบบให้ใช้งานง่ายด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การล็อกอิน การอัปโหลดภาพ และการแสดงผลวินิจฉัยพร้อมระดับความมั่นใจ รองรับทุกอุปกรณ์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งระบบรองรับการนำ Feedback จากบุคลากรผู้ใช้งาน เช่น การกำหนดรอยโรค (Label) และการตรวจสอบข้อผิดพลาดของ AI มาพัฒนาและปรับปรุงโมเดล AI ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.

2.รางวัลระดับเหรียญเงิน (Silver Medal)

จากผลงาน แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการจำแนกรอยโรคบนภาพเอกซเรย์ปอด (AI Platform for Multiclass Classification of Lung Lesion on Chest X-ray) โดย อาจารย์ชญานนท์ ภมะราภา และอาจารย์ ดร.ฤดีรัตน์ กีรติวิทยายุต สังกัด โรงเรียนรังสีเทคนิค คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3.รางวัลพิเศษ (Special prize from Prince Sattam Bin Abdulaziz University (Saudi arabia)

จากผลงาน CRA Nutritrack : เว็บแอปช่วยประเมินภาวะโภชนาการและออกแบบมื้ออาหาร ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย (CRA NutriTrack : A web application designed to assess nutritional status, and plan meals, tailored to the needs of patients) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และคณะ